tidreviews

tidreviews

คลายโควิด-ท่องเที่ยวคึกคัก สศช.มั่นใจ ศก.ไทยปีนี้โตเกิน 3% ผนึกคลัง-ธปท.จับตาปัจจัยเสี่ยงปีหน้าใกล้ชิด

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นหลังผ่อนคลายมาตรการป้องกันโควิด-19 โดยปีนี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตได้ 3% กว่าๆ ซึ่งเป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องและแข็งแกร่ง แม้จะมองว่าล่าช้ากว่าประเทศอื่น แต่เนื่องจากโครงสร้างเศรษฐกิจมีข้อจำกัดจึงไม่สามารถเติบโตได้ 6-7% ซึ่งถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีการปรับโครงสร้าง

ขณะที่การลงทุนจากต่างประเทศยังขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวที่มีสัดส่วน 17% ของจีดีพี มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาแล้ว 6-7 ล้านคน คาดว่าปีนี้จะมีราว 10 ล้านคน สำหรับอัตราเงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในช่วงไตรมาส 3 และมีแนวโน้มปรับตัวลดลงกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ในปีหน้า ส่วนอัตราการว่างงานในช่วงโควิด-19 อยู่ที่ระดับ 2% แต่ขณะนี้ลดลงมาอยู่ที่ 1.37% ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศมีจำนวนสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเกือบ 3 เท่า สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีอยู่ที่ 60% กว่าๆ ภายใต้กรอบ 70% ของจีดีพี และสัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศ มีสัดส่วนอยู่ที่ 1.8% เพราะช่วงที่ผ่านมาส่วนใหญ่เว็บหวยออนไลน์ เชื่อถือได้เป็นการกู้เงินในประเทศ

สำหรับกรณีที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดนั้นยังไม่เป็นอันตรายเหมือนช่วงที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 40 ฐานะการเงินการคลังยังมีความแข็งแรง เนื่องจากมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 220 พันล้านดอลลาร์ ส่วนข้อกังวลเรื่องต่างประเทศมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วจะทำให้เงินทุนต่างชาติไหลออกนั้น ขณะนี้ปริมาณเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามามีปริมาณมากกว่าไหลออก ส่วนเงินทุนต่างชาติที่ไหลออกไปเป็นการลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น ขอยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยขณะนี้มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และค่อนข้างจะแข็งแรง ปีนี้ตัวเลขน่าจะอยู่ฝั่ง High Side

โดยในปี 2566 หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงจากหลายปัจจัย เช่น ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ปัญหาราคาพลังงานสูง ซึ่งสภาพัฒน์ ร่วมกับ ธปท. และกระทรวงการคลังจับตาดูสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ขณะที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ในทางตรงกันข้ามอาจเป็นโอกาสให้มีการย้ายฐานการลงทุนมายังประเทศไทย

ทั้งนี้ในปีหน้าจะต้องเร่งช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง เร่งดึงการลงทุนจากต่างประเทศในบางอุตสาหกรรม เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องห่วงโซ่อุปทาน, การปรับปรุงมาตรการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษประเภทผู้พำนักระยะยาว (long-term resident visa:LTR Visa) ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม, การขออนุญาตผ่านระบบอิเลคทรอนิกส์, การผลักดันตามแผนฯ 13 ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น